บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวันอังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30-12.30
วันนี้อาจารย์ได้ถามแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการไปชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ว่าในการชุมนุมนั้นมีอะไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์บ้าง และอาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมในสิ่งต่างๆให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง เด็กปฐมวัย & การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ว่า- วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือ- ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไป ?- ควรให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวของตนเอง
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 1. Democracy = ประชาธิปไตย
2. Politics = การเมือง
3. Bitter pill = ยาขม
4. Comments = ความคิดเห็น
5. Effort = ความพยายาม
ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์ ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ในเรื่องที่ได้เรียน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถามคำถามต่างๆ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีการสอนโดยการเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจได้ชัดเจน มีการอธิบายเนื่อหาเสริมเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ
ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์
เรื่อง บวกเลขให้เก่งสำหรับเด็กเล็กนับเลขเก่งคือพื้นฐาน
ครูจะมีเกมบวกเลข คู่ 5 มาให้ผู้ปกครองและลูกเล่น โดยในเกมจะแบ่งออกเป็นสองทีม จะเป็นทีมคุณพ่อคุณแม่กับทีมของลูก โดยหาของที่เป็นชิ้นๆหยิบจับง่าย และหาได้ภายในบ้าน สมมติให้ทีมพ่อแม่เป็นสีแดง และทีมของลูกเป็นสีเขียว พ่อจะหยิบมะเขือเทศแล้วนำมาวางไว้หนึ่งลูก แล้วบอกว่า 1 รวมกับอะไรจะได้ 5 เด็กก็จะนับไปสอง สาม สี่ ห้า เด็กก็จะนับได้ว่า 1 รวมกับ 4 จะได้ 5 ต่อจากนั้นก็จะเป็นทีมของลูกวางมะนาวไว้ 2 ลูก แล้วถามพ่อว่ารวมกับอะไรจะได้ 5 พ่อก็จะนับมาสองแล้วสาม สี่ ห้า สองรวมกับสามจะได้ 5
เกมคู่ 10 อุปกรณ์ที่ใช้ก็หาง่ายๆภายในบ้าน มีน้ำตาลทรายกับครีมเทียม ให้พ่อแม่เป็นฝ่ายน้ำตาลทราย แลัให้ลูกเป็นฝ่ายครีมเทียม เราจะเริ่มเกมจากฝั่งพ่อแม่ โดยวางจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ สมมติว่าวางน้ำตาลทรายไว้ 3 แล้วถามลูกว่า 3 รวมอะไรได้ 10 เด็กๆก็จะเติมสี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ เพราะฉนั้น 3 รวมกับ 7 ได้ 10 หลังจากนั้นลูกจะเป็นฝ่ายถามพ่อแม่บ้าง สมมติลูกวางไว้ 6 แล้วถามพ่อแม่ว่ารวมกับอะไรแล้วได้10 พ่อแม่ต้องวางแล้วนับให้ลูกเห็นไปเลยว่านับแบบไหนจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าใจและคุ้นเคยว่าเลขอะไรบวกกันแล้วได้สิบบ้าง เด็กๆเกิดความชำนาญก็จะบวกเลขได้เร็วขึ้น
https://youtu.be/w9W7NSStOds
ตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์
เรื่อง วิทยาศาสตร์พาเพลิน ระดับปฐมวัย การเจริญเติบโตของพืช
วิจัยคณิตศาสตร์
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ
พหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
ปริญญานิพนธ์
ของ
แสงเดือน วิมลรัตน์
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้นักเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 15 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
2.1 ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ
2.2 ด้านการจัดหมวดหมู่
2.3 ด้านการเรียงลำดับ
2.4 ด้านการรู้ค่าจำนวน
ระยะเวลาในการทดลอง
ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการสึกาา 2553 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20 - 30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
การดำเนินการทดลอง
1. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบกับเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตามแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัยญาเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20 - 30 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 09.30 - 10.00 น.
3. เมื่อทดลองครบ 8 สัปดาห์แล้ว ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป
สรุปผลวิจัย
1. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ภายหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี
2. เด็กปฐมวัยภายหลังจากที่รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วิจัยวิทยาศาสตร์
เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ของ
ศรีนวล ศรีอ่ำ
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรฺของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนหลังการจัดประสบการณ์
กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.893 วิเคราะข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
วิธีการดำเนินการ
การวิจัยนี้ใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน(ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความคิดเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35 ครั้ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการวิจัย
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. ทักาะหระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทความคณิตศาสตร์
เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ
บทความโดย ดร. นิติธร ปิลวาสน์
สรุปบทความวิทยาศาสตร์
เรื่อง วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน : คุณครูอุ้ม อนุบาลศรีสะเกษ
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวันอังคาร ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30-12.30
วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปบทความวิทยาศาสตร์ บทความคณิตศาสตร์ วิจัยวิทยาศาสตร์ วิจัยคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษาถ่ายรูปกลุ่มโพสต์ลงใน padlet เพื่อเป็นการเช็คชื่อ
ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา หางานที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจค้นหาและทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้เป็นอย่างดี เข้าเรียนครบทุกคน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้มอบหมายงาน อธิบายเกี่ยวกับงานที่สั่งได้อย่างละเอียด และเข้าใจง่าย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวันอังคาร ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30-12.30
วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เข้าเรียนวิชานี้และเป็นครั้งแรกที่ได้พบกับอาจารย์ประจำวิชา อาจารย์มีการพูดแนะนำตัวเอง และให้นักศึกษาแนะนำตัวเองโดยการเขียนจุดเด่นของเราที่เห็นได้ชัดลงในแผ่นกระดาษโดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อเราลงไป แล้วอาจารย์ก็จะให้เพื่อนๆในห้องลองทายกันว่าลักษณะเด่นในแผ่นกระดาษแต่ละแผ่นนั้นใครเป็นเจ้าของ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาว่าวิชานี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร และต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในรายวิชานี้ อาจารย์จะมีข้อตกลงต่างๆร่วมกับนักศึกษาในการเรียนวิชานี้ว่ามีอะไรบ้าง และเกณฑ์การให้คะแนนต่างๆ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ My Mapping เรื่อง การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้เขียนตามความเข้าใจของเราเองว่าเราคิดแบบไหน โดยไม่ให้เข้าไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มละ 5 คน ถ่ายรูปสมาชิกและผลงานของสมาชิกในกลุ่ม แล้วนำไปโพสต์ไว้ใน padlet
งานที่อาจารย์มอบหมาย1. ให้นักศึกษาสร้าง Blogger เกี่ยวกับวิชานี้2. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจดบันทึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างน้องสัปดาห์ละ 5 คำ
คำศัพย์ภาษาอังกฤษ 1. Science = วิทยาศาสตร์
2. Mathematics = คณิตศาสตร์
3. Learning = การเรียนรู้
4. Skill = ทักษะ 5. Understanding = ความเข้าใจ
ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน สนุกไปกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ มีสมาธิในการเรียน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นคนน่ารัก มีรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาที่น่าสนใจ อธิบายเข้าใจง่าย มีการจัดเวลาในการสอนที่ดี
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคาร ที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เ...
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคาร ที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา...
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคาร ที่ 1 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563 เวล...
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 EAED2112 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคาร ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563 เ...