วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 วิจัยคณิตศาสตร์

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ

พหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์

ของ

แสงเดือน วิมลรัตน์


ความมุ่งหมายของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวน


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

    เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้นักเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 15 คน


ตัวแปรที่ศึกษา

    1. ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

    2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

        2.1 ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ 

        2.2 ด้านการจัดหมวดหมู่ 

        2.3 ด้านการเรียงลำดับ

        2.4 ด้านการรู้ค่าจำนวน


ระยะเวลาในการทดลอง

    ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการสึกาา 2553 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20 - 30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง


การดำเนินการทดลอง

    1. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

    2. ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบกับเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตามแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัยญาเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20 - 30 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 09.30 - 10.00 น.

    3. เมื่อทดลองครบ 8 สัปดาห์แล้ว ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด

    4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป


สรุปผลวิจัย

    1. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ภายหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี

    2. เด็กปฐมวัยภายหลังจากที่รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 EAED2112  การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคาร ที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เ...