วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 

          🌺 วันนี้อาจารย์ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก่อนเข้าเรียนกับนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
          🌺 อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ " รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย "  ดังนี้
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ 3 - 5 ปี)
          - พอใจคนที่ตามใจ                                          - มีช่วงความสนใจสั้น 8 - 10 นาที       
          - สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ                         - อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว          
          - ชอบถามทำไมอยู่ตลอดเวลา                          - ช่วยตนเองได้
          - ขอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจ และได้คำชม         - ขอบเล่นแบบอิสระ

และอาจารย์ได้มีการยกตัวอย่างเกี่ยวกับ " ทฤษฎีการเรียนรู้ " ต่างๆเกี่ยวกับเด็ก ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้
🌱การทดลองของพาฟลอฟ (การวางเงื่อนไข)
🍃การนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
    - ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน เป็นการวางเงื่อนไขที่ดี
    - ครูวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เพื่อผู้เรียนจะไดรักวิชาที่ครูสอน
    - ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน
    - สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน
🌱ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดส์
    - ทฤษฎีลองผิดลองถูก
    - การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
🍃การนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
    - ก่อนที่จะดำเนินการสอนควรต้องเตรียมตัวให้พร้อม และกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน
    - ควรมอบหมายงานแบบฝึกหัด หรือการบ้านให้ผู้เรียน เพื่อให้บรรลุตามหลักสูตร

สมองของเด็ก
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ดี
          2 - 4 ปี จุดเด่นทางด้านภาษา มีการคิดแต่จะคิดตามที่ตาเห็น ถ้าเห็นคือมี ถ้าไม่เห็นคือไม่มี
          4 - 7 ปี พัฒนาปรับในเชิงเหตุผลได้มากขึ้น บอกสิ่งต่างๆได้
ขั้นอนุรักษ์
          ขั้นที่เด็กสามารถตอบได้ด้วยเหตุผล
          
          🌺 อาจารย์ได้สอนนักศึกษาร้องเพลงเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข และให้นักศึกษาช่วยกันแปลงเพลงจากที่อาจารย์สอน แบ่งออกเป็นสามกลุ่มและร้องให้เพื่อนๆในห้องฟัง 
เพลงกระต่าย🐰 ( การเพิ่มจำนวน )
บ้านฉันมีกระต่าย 5 ตัว
แม่ให้อีก 2 ตัวนะเออ
มารวมกันนับดีดีซิเธอ
ดูซิเออรวมกันได้ 7 ตัว

เพลงกระต่าย🐰 ( การลดจำนวน )
บ้านฉันมีกระต่าย 7 ตัว
หายไป 1 ตัวนะเธอ
ฉันหาดูแล้วไม่เจอ
ดูซิเออเหลือเพียงแค่ 6 ตัว
           🌼 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปฝึกร้องเพลงสองเพลง คือ " เพลงแม่ไก่ " และ " เพลงนกกระจิบ "

เพลง แม่ไก่



เพลง นกกระจิบ



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
    1. Learning theory = ทฤษฎีการเรียนรู้
    2. Nature = ธรรมชาติ
    3. Environment = สิ่งแวดล้อม
    4. Music = เพลง
    5. Singing = ร้องเพลง

ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์
ประเมินตนเอง
    มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ได้ฝึกการดัดแปลงเพลงและเพลงร้องเพลงร่วมกับอาจารย์และเพื่อนๆในห้อง สนุกในการเรียน

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการเรียน การร้องเพลงและแต่งเพลงกับเพื่อนในห้อง

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาสอนให้กับนักศึกษา และมีเพลงดีๆมาสอนนักศึกษาให้ฝึกแต่งเพลงและร้องเพลงร่วมกัน














วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 

          วันนี้อาจารย์ได้ถามแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการไปชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ว่าในการชุมนุมนั้นมีอะไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์บ้าง และอาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมในสิ่งต่างๆให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
          อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง เด็กปฐมวัย & การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ว่า
- วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือ
- ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไป ?
- ควรให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร

วิทยาศาสตร์
          คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวของตนเอง

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
    1. Democracy = ประชาธิปไตย
    2. Politics = การเมือง
    3. Bitter pill = ยาขม
    4. Comments = ความคิดเห็น
    5. Effort = ความพยายาม

ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์ 
ประเมินตนเอง
    มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ในเรื่องที่ได้เรียน

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถามคำถามต่างๆ

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีการสอนโดยการเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจได้ชัดเจน มีการอธิบายเนื่อหาเสริมเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ

 ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

เรื่อง บวกเลขให้เก่งสำหรับเด็กเล็กนับเลขเก่งคือพื้นฐาน




    ครูจะมีเกมบวกเลข คู่ 5 มาให้ผู้ปกครองและลูกเล่น โดยในเกมจะแบ่งออกเป็นสองทีม จะเป็นทีมคุณพ่อคุณแม่กับทีมของลูก โดยหาของที่เป็นชิ้นๆหยิบจับง่าย และหาได้ภายในบ้าน สมมติให้ทีมพ่อแม่เป็นสีแดง และทีมของลูกเป็นสีเขียว พ่อจะหยิบมะเขือเทศแล้วนำมาวางไว้หนึ่งลูก แล้วบอกว่า 1 รวมกับอะไรจะได้ 5 เด็กก็จะนับไปสอง สาม สี่ ห้า เด็กก็จะนับได้ว่า 1 รวมกับ 4 จะได้ 5 ต่อจากนั้นก็จะเป็นทีมของลูกวางมะนาวไว้ 2 ลูก แล้วถามพ่อว่ารวมกับอะไรจะได้ 5 พ่อก็จะนับมาสองแล้วสาม สี่ ห้า สองรวมกับสามจะได้ 5

    เกมคู่ 10 อุปกรณ์ที่ใช้ก็หาง่ายๆภายในบ้าน มีน้ำตาลทรายกับครีมเทียม ให้พ่อแม่เป็นฝ่ายน้ำตาลทราย แลัให้ลูกเป็นฝ่ายครีมเทียม เราจะเริ่มเกมจากฝั่งพ่อแม่ โดยวางจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ สมมติว่าวางน้ำตาลทรายไว้ 3 แล้วถามลูกว่า 3 รวมอะไรได้ 10 เด็กๆก็จะเติมสี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ เพราะฉนั้น 3 รวมกับ 7 ได้ 10 หลังจากนั้นลูกจะเป็นฝ่ายถามพ่อแม่บ้าง สมมติลูกวางไว้ 6 แล้วถามพ่อแม่ว่ารวมกับอะไรแล้วได้10 พ่อแม่ต้องวางแล้วนับให้ลูกเห็นไปเลยว่านับแบบไหนจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าใจและคุ้นเคยว่าเลขอะไรบวกกันแล้วได้สิบบ้าง เด็กๆเกิดความชำนาญก็จะบวกเลขได้เร็วขึ้น


https://youtu.be/w9W7NSStOds


 ตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์

เรื่อง วิทยาศาสตร์พาเพลิน ระดับปฐมวัย การเจริญเติบโตของพืช





        ครูมีกิจกรรมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช โดยจะเตรียมเมล็ดพืชไว้ คือ เมล็ดถั่วเขียว หอมแดง ข้าวเปลือก เมล็ดถั่วดำ และเมล็ดข้าวโพด ภาชนะที่ใช้ปลูกอาจจะเป็นขวด กระถาง กระป๋อง หรือเปลือกไข่ก็ได้ วัสดุที่ใช้ปลูกจะมีดิน สำลี กระดาษทิชชู่ และกาบมะพร้าว
        ครูจะสาธิตวิธีการปลูกโดยใช้ดินกับสำลีให้กับเด็กๆดู ครูเลือกปลูกเมล็ดถั่วเขียว โดยนำเมล็ดถั่วเขียวมาปลูกบนสำลี ก่อนที่จะปลูกให้เด็กๆ นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำไว้ 1 คืนก่อน ภาชนะที่ใช้จะเป็นเปลือกไข่ ให้นำสำลีไปชุบน้ำพอหมาด แล้วนำไปวางไว้ในเปลือกไข่ที่เตรียมไว้ หยิบเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้วางลงไปประมาณ 5 เมล็ด วางไม่ให้ชิดกันมากเพื่อจะได้สังเกตการเจริญเติบโตได้ดี แล้วให้เด็กๆ รดน้ำโดยการพรมน้ำไม่ให้ชุ่มมาก เนื่องจากรากอาจจะเน่าได้
        ครูจะสาธิตวิธีการปลูกเมล็ดข้าวโพลลงในดินโดยปลูกลงในขวดน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดไปแช่น้ำหนึ่งคืน แล้วล้างทำความสะอาดขวดตัดแบ่งครึ่ง เจาะรูด้านล่าง แล้วนำดินมาใส่ลงในขวดพอประมาณไม่ให้เต็มมาก นำเมล็ดข้าวโพดมาวางไว้ด้านบนไม่ให้ชิดกันมาก จากนั้นใช้ดินกลบลงไปด้านบน
        ในการทำกิจกรรมนอกจากครูจะให้เด็กๆ รดน้ำแล้ว ก็ยังให้เด็กๆฝึกการสังเกตแล้วบันทึกผลการทดลอง ว่า ต้นไม้ของเราเจริญเติบโตเป็นอย่างไรบ้าง ให้เด็กๆสังเกตความสูงของพืชที่ตนเองปลูกและวัดว่าต้นพืชที่เด็กๆปลูกสูงเท่าไหร่





 วิจัยคณิตศาสตร์

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ

พหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์

ของ

แสงเดือน วิมลรัตน์


ความมุ่งหมายของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวน


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

    เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้นักเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 15 คน


ตัวแปรที่ศึกษา

    1. ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

    2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

        2.1 ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ 

        2.2 ด้านการจัดหมวดหมู่ 

        2.3 ด้านการเรียงลำดับ

        2.4 ด้านการรู้ค่าจำนวน


ระยะเวลาในการทดลอง

    ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการสึกาา 2553 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20 - 30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง


การดำเนินการทดลอง

    1. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

    2. ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบกับเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตามแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัยญาเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20 - 30 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 09.30 - 10.00 น.

    3. เมื่อทดลองครบ 8 สัปดาห์แล้ว ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด

    4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป


สรุปผลวิจัย

    1. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ภายหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี

    2. เด็กปฐมวัยภายหลังจากที่รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 วิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

ของ

ศรีนวล ศรีอ่ำ


จุดมุ่งหมายของการวิจัย

    1. ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    2. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรฺของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนหลังการจัดประสบการณ์


กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย

    นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน 


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    2. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    3. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.893 วิเคราะข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์


วิธีการดำเนินการ

     การวิจัยนี้ใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน(ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความคิดเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35 ครั้ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน


ผลการวิจัย

    1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี

    2. ทักาะหระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 บทความคณิตศาสตร์

เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ

บทความโดย ดร. นิติธร ปิลวาสน์





การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ (Teaching Mathematics Basic Skills from Natural Materials)
          
          คือ การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวนจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ฯลฯ  และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ภาพ ฯลฯ การนำวัสดุจากธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ที่มีอยู่รอบตัวมาจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพบนก้อนหิน การวาดภาพบนใบไม้ ฯลฯ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเหล่านี้ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกผ่านสื่อต่างๆออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ และสื่อวัสดุธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่าง สี ขนาด น้ำหนัก พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ ทั้งทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ การนับ การจัดกลุ่ม การจัดลำดับ การเรียนรู้ค่าและจำนวน ฯลฯ
           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Mathematics Skills) เป็นทักษะหรือประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่มีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้กับเด็กปฐมวัย คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย ซึ่งทั้งพ่อแม่และครูย่อมตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์อยู่แล้วว่า ในการเล่นและการสื่อสารพูดคุยของเด็กของเด็กนั้นมักมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ยังมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยดังนี้
    - เพื่อให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ การแยกหมู่ การรวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง
    - เพื่อขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกัน โดยการลำดับจากง่ายไปหายาก
    - เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายและบอกสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง
    - เพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นในการคิดคำนวณ โดยการสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยการฝึกการเปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ และการบอกความแตกต่างในเรื่องของขนาด น้ำหนัก ระยะเวลา จำนวนของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวได้ สามารถแยกแยะสิ่งของเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับเล็กไปหาใหญ่ สูงไปหาต่ำ แยกเป็นหมู่ย่อย การเพิ่มลดของจำนวน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กพร้อมที่จะคิดคำนวณในขั้นต่อไป
    - เพื่อฝึกการใช้เหตุผล อาจทำได้โดยการตั้งปัญหาให้เด็กคิดหาเหตุผล หาคำตอบ ค้นคว้าด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน มีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ยังเล็ก
    - เพื่อให้สัมพันธ์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และภาษา สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นจึงต้องให้สัมพันธ์กับตัวเด็กเอง
    - เพื่อให้เด็กมีใจรักในวิชาคณิตศาสตร์ ครูควรพยายามจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น เกม เพลง นิทาน เพื่อเป็นการเร้าความสนใจของเด็กให้เกิดความสนุกสนานและสร้างความรู้โดยไม่รู้สึกตัว เมื่อเด็กรักวิชาคณิตศาสตร์ เด็กจะสนใจ กระตือรือร้นอยากค้นคว้าหาสาเหตุด้วยตัวเอง ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจอยากจะหาเหตุผลต่อไป



สรุปบทความวิทยาศาสตร์ 

เรื่อง วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ผู้เขียน : คุณครูอุ้ม อนุบาลศรีสะเกษ





          เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ  การหยิบจับ  สัมผัส  และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก  คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เช่น  การจำแนก  การเปรียบเทียบ  การหาความสัมพันธ์ของวัตถุ  การเรียนวิทยาศาสตร์และการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงพัฒนาควบคู่กัน  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว  ได้แก่  เรื่องพืช  สัตว์  เวลา  ฤดูกาล  น้ำ  และอากาศร่วมด้วย


วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก
          1. กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล พิสูจน์ได้ เด็กที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงมีระบบความคิดเชิงตรรกะที่ดี 
          2. พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ เพราะ ไม่มีทฤษฏีใดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ การท่องจำไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก หากเป็นการคิดหาเหตุผล  และพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำนั้นเป็นความจริงหรือไม่
          3. จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  เด็กๆสามารถนำวิทยาศาสตร์และจินตนาการมารวมเป็นเรื่องเดียวกันได้
          4. ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี เขาจะมีความสุขและสามารถต่อยอดไปในชั้นสูงๆได้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนที่ชอบวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์เสมอไป  


บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
        1. การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย  ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้ (Cognition) เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีและได้ฝึกฝนการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งเป็นการวางพื้นฐานโครงสร้างกรอบแนวคิด  (Conceptual Framework) เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัวให้ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ในระดับปฐมวัย จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น
         2. การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ  4  ด้าน  ได้แก่
                      2.1  คุณลักษณะตามวัยด้านร่างกาย  
                      2.2  คุณลักษณะตามวัยด้านอารมณ์และจิตใจ 
                      2.3  คุณลักษณะตามวัยด้านสังคม  
                      2.4  คุณลักษณะตามวัยด้านสติปัญญา  
          3. การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์


กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ
          1.  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์
          2.  การเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ 
              - การสังเกต 
              - การจำแนก เปรียบเทียบ 
              - การวัด 
              - การสื่อสาร
              - การทดลอง              
              - การสรุปและนำไปใช้ 
          สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยค้นคว้า การสืบเสาะ และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 

          วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปบทความวิทยาศาสตร์ บทความคณิตศาสตร์ วิจัยวิทยาศาสตร์ วิจัยคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษาถ่ายรูปกลุ่มโพสต์ลงใน padlet เพื่อเป็นการเช็คชื่อ



ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์
ประเมินตนเอง
          มาเรียนตรงเวลา หางานที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย

ประเมินเพื่อน
          เพื่อนตั้งใจค้นหาและทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้เป็นอย่างดี เข้าเรียนครบทุกคน

ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ได้มอบหมายงาน อธิบายเกี่ยวกับงานที่สั่งได้อย่างละเอียด และเข้าใจง่าย

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 

          วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เข้าเรียนวิชานี้และเป็นครั้งแรกที่ได้พบกับอาจารย์ประจำวิชา อาจารย์มีการพูดแนะนำตัวเอง และให้นักศึกษาแนะนำตัวเองโดยการเขียนจุดเด่นของเราที่เห็นได้ชัดลงในแผ่นกระดาษโดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อเราลงไป แล้วอาจารย์ก็จะให้เพื่อนๆในห้องลองทายกันว่าลักษณะเด่นในแผ่นกระดาษแต่ละแผ่นนั้นใครเป็นเจ้าของ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาว่าวิชานี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร และต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในรายวิชานี้ อาจารย์จะมีข้อตกลงต่างๆร่วมกับนักศึกษาในการเรียนวิชานี้ว่ามีอะไรบ้าง และเกณฑ์การให้คะแนนต่างๆ
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ My Mapping เรื่อง การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้เขียนตามความเข้าใจของเราเองว่าเราคิดแบบไหน โดยไม่ให้เข้าไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มละ 5 คน ถ่ายรูปสมาชิกและผลงานของสมาชิกในกลุ่ม แล้วนำไปโพสต์ไว้ใน padlet



          
งานที่อาจารย์มอบหมาย
1. ให้นักศึกษาสร้าง Blogger เกี่ยวกับวิชานี้
2. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจดบันทึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างน้องสัปดาห์ละ 5 คำ

คำศัพย์ภาษาอังกฤษ
    1. Science = วิทยาศาสตร์
    2. Mathematics = คณิตศาสตร์
    3. Learning = การเรียนรู้
    4. Skill = ทักษะ
    5. Understanding = ความเข้าใจ

ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์
ประเมินตนเอง
          มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน สนุกไปกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ มีสมาธิในการเรียน

ประเมินเพื่อน
          เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินอาจารย์
          อาจารย์เป็นคนน่ารัก มีรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาที่น่าสนใจ อธิบายเข้าใจง่าย 
มีการจัดเวลาในการสอนที่ดี